วิธีการฝังเพชรบนตัวเรือน

วิธีการฝังเพชรบนตัวเรือน

การฝังอัญมณีในตัวเรือนเป็นขั้นตอนหนึ่งของการทำเครื่องประดับ ลักษณะการฝังอัญมณีมีหลายแบบด้วยกัน ซึ่งแต่ละแบบก็ทำให้เครื่องประดับนั้นมีสไตล์และดีไซน์ที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม จุดประสงค์หลักของการฝังอัญมณีก็คือ ทำให้อัญมณียึดติดกับตัวเรือนโลหะ ไม่ว่าจะเป็น เงิน ทอง ทองคำขาว หรือแพลททินั่ม มาดูกันว่าการฝังอัญมณีมีรูปแบบใดบ้าง

Prong Setting หรือว่า ฝังแบบหนามเตย
วิธีการฝังแบบนี้ เป็นการฝังแบบชูค่ะ เป็นวิธีการฝังที่นิยมกันมากที่สุด สำหรับดีไซน์ แหวนหมั้น แหวนแต่งงาน ช่างจะเซาะร่องที่หนามเตย เพื่อสอดเพชรเข้าไป ขาที่ใช้เกาะยึดตัวอัญมณีเรียกว่าหนามเตย มีหลายแบบ บางครั้งก็ 3 , 4 หรือ 6 หนามเตย สำหรับเพชรเม็ดใหญ่ๆ ก็แนะนำที่ 6 หนามเตย เพราะจะสามารถยึดตัวอัญมณีกับตัวเรือนได้ดียิ่งขึ้น

 

 

 

V Prong Setting หรือว่า แบบหุ้มหัวเรือ
แบบหุ้มหัวเรือนี้ ลักษณะวิธีการหุ้มเป็นแบบเดียวกับหนามเตย แต่ใช้สำหรับเพชรที่มีมุมมีเหลี่ยม เช่น สี่เหลี่ยม มาคี หัวใจ (ตรงก้นแหลมๆ) ซึ่งจะปกป้องส่วนที่เปราะบางที่สุด คือส่วนมุมของเพชร ไม่ให้แตกหรือหักได้ง่าย ลักษณะจะเหมือนรุปตัว v ภาษาอังกฤษก็เลยเรียกว่า V Prong Setting

 

 

Bezel Setting หรือว่า แบบฝังหุ้ม
วิธีการนี้เป็นการใช้ขอบทองหุ้มขอบเพชร ข้อดีคือ ทำให้เพชรเม็ดนั้นดูเม็ดใหญ่ขึ้นในระยะไกล อย่างเช่น 30 ตัง ก็อาจจะดูเป็น 50 ตังได้ แต่ก็มีข้อเสีย คือทำให้เพชรไม่ค่อยมีไฟ การฝังหุ้ม ยังมีข้อดีอีกอย่างคือ ขอบทองจะช่วยรักษาตัวเพชร ไม่ให้ไปกระทบกระแทกวัตถุอื่นๆ เวลาสวมใส่ รวมทั้งมีพื้นที่ในการยึดเกาะเพชรรอบทั้งเม็ด จึงทำให้การฝังหุ้ม เป็นการฝังเพชรที่แข็งแรงที่สุดในวิธีการฝังทั้งหมด

 

 

 

Channel Setting หรือว่า แบบฝังสอด
แบบฝังสอดนั้น ใช้สำหรับการฝังเพชรแบบแถว โดยตัวเรือนจะมีลักษณะเป็นช่องว่างๆ ที่สามารถสอดเพชรได้เข้าไปที่ละเม็ด โดยใช้ขอบทองเป็นตัวล็อคเพชรไว้ ลักษณะการฝังสอดนั้น ก็มีข้อเสียอยู่คือ จะทำให้เพชรดูเม็ดเล็กลงกว่าเม็ดจริงเล็กน้อย เนื่องจากขอบ 2 ด้านถูกขอบทองบังเอาไว้ และไม่สามารถตัด หรือขยายขนาดของแหวนได้เยอะมาก มากที่สุดก็แค่ 1-2 เบอร์เท่านั้น เพราะจะทำให้กระทับกับตัวเพชรที่ฝังเป็นแถว อาจจะทำให้เพชรหลุดได้ แต่กก็เป็นการฝังเพชรที่ได้รับความนิยมมากเดียวกัน เนื่องจากเพชรจะส่องประกายสวยกว่าวิธีการฝังแบบอื่นๆ

 

 

 

Pave Setting ที่เราเรียกกันว่าการฝังจิก หรือว่าฝังจิกไข่ปลา
เป็นการฝังเพชรแบบยอดนิยม เพราะทำให้เพชรเม็ดเล็กดูกลืนๆ ออกมาเป็นเหมือนเพชรแวววาวในพื้นที่ใหญ่ๆ อย่างเช่น การฝังเต็มพื้นที่แหวน ซึ่งถ้าใช้เพชรที่ cutting ไม่ค่อยสวย ก็จะเห็นได้ชัดเจน เพราะว่าแหวนเพชรที่ทำเสร็จออกมานั้น จะไม่มีไฟเลยค่ะ การฝังประเภทนี้ ช่างฝังเพชรจะขุดทองพื้นทองลงไป เพื่อที่จะจิกเป็นหนามเตยขนาดเล็กๆ ในการฝังเพชร

 

 

 

Tension Setting หรือว่า แบบฝังหนีบ
วิธีการฝังเพชรแบบนี้ ไม่ค่อยจะเห็นในเมืองไทยสักเท่าไหร่ จุดเริ่มต้นที่เห็นวิธีการฝังแบบนี้ มาจากเมืองนอก และตัวเรือนก็เป็น Platinum เนื่องจากแพทตินั่มมีความเหนียวมากกว่าทอง จึงแข็งแรงและสามารถยึดเกาะเพชรได้ดีกว่า ประกอบกับฝรั่งเองก็ไม่ได้ใส่แหวนสมบุกสมบันเหมือนคนไทยสักเท่าไหร่ ที่ใส่ทำกิจกรรมทุกประเภท ก็เลยน่าจะปลอดภัยกว่าใครชอบ Setting ตัวนี้อาจจะต้องทำใจนิดนึง ว่าถ้าใช้ตัวเรือนทอง ความแข็งแรงอาจจะน้อยกว่า และก็ต้องดูแลรักษามากเป็นพิเศษกว่าวิธีการฝังเพชรแบบอื่นๆด้วย

 

 

 

Bar Setting หรือว่า การฝังแบบหนีบหลายๆเม็ด
การฝังแบบหนีบ แต่เป็นแบบหนีบหลายๆเม็ด ซึ่งความแข็งแรง ก็จะใกล้เคียงกับ Tension คือไม่แนะนำให้ใส่ทุกวัน หรือใส่แบบสมบุกสมบัน เนื่องจากพื่นที่ของเนื้อทองที่ใช้ในการยึดเกาะกับเพชรมีน้อย ดังนั้น จึงอาจจะหลุดได้ง่ายกว่า ถ้งเทียบกับการฝังเพชรแบบอื่นๆ การฝังเพชรในรูปแบบต่างๆ ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของแต่ละคน บางคนบอกว่าการฝังแบบหนามเตยดูโบราณ แต่บางคนกลับบอกว่าดูคลาสสิค หรือว่า การฝังแบบหุ้ม บางคนบอกว่าดูสมัยใหม่ แต่บางคนก็ว่าจะทำให้เพชรดูเม็ดเล็กลง

 

 

 

Invisible Setting หรือว่าแบบฝังไร้หนาม
การฝังแบบไร้หนามมักใช้อัญมณีที่มีรูปร่างสี่เหลี่ยม โดยตัวเรือนโลหะจะมีลักษณะเหมือนตาข่ายไว้รองรับอัญมณีแต่ละเม็ด และมีโลหะคล้ายใบมีดเป็นตัวล็อคอัญมณี ลักษณะการฝังจึงดูเหมือนตารางและไม่เห็นโลหะระหว่างขอบอัญมณี ข้อดีคือ หน้าอัญมณีจะเรียบไปกับตัวเรือน จึงมีความเสี่ยงน้อยต่อการขูดขีดเป็นรอย และการกระทบกระทั่ง ข้อเสียคื่อ การฝังไร้หนามจัดว่าเป็นการฝังที่ยากที่สุด หากช่างฝังไม่มีความชำนาญพอ เสี่ยงต่อการทำอัญมณีแตกได้

 

 

 

Flush Setting หรือว่าการฝังเหยียบหน้าหรือฝังจม
เป็นการฝังที่คล้ายกับการฝังหุ้ม แต่เป็นการฝังจมลงไปในเนื้อโลหะ ไม่เห็นกระเปาะของตัวเรือน อัญมณีจะถูกฝังลงไปในรูที่มีขนาดเท่ากับอัญมณี และถูกล็อคด้วยเนื้อโลหะรอบๆ หน้าอัญมณีจะเสมอกับตัวเรือน ข้อดีคือ ขอบของอัญมณีจะถูกหุ้มด้วยโลหะ และหน้าอัญมณีจะเรียบไปกับตัวเรือน จึงป้องกันการกระทบกระทั่งและขูดขีดของอัญมณีได้ดีข้อเสียคือ เป็นการฝังที่ต้องใช้แรงกดลงไป เสี่ยงต่อการทำอัญมณีแตก ช่างฝังจึงต้องมีความระมัดระวัง

 

 

 วิธีฝังเพชร

ที่มา : oneclickdiamond.com และ bloggang.com

Visitors: 363,547